หน้าแรก > บทความวิดีโอและสุขภาพ > การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

     การล้างจมูก (Nasal Irrigation) คือ การสวนล้างโพรงจมูก ด้วยน้ำเกลือ เพื่อชะล้างน้ำมูกและสารที่ก่อให้เกิดการแพ้(1,2)ทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้น(1) ช่วยลดอาการน้ำมูกไหลลงคอ จาม และอาการคัดจมูก บรรเทาอาการในผู้ที่มีอาการเยื่อจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (Non-allergic Rhinitis)(3) และผู้ที่มีอาการเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)(1,4) ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น(2)ความเข้มข้นของน้ำเกลือที่แนะนำ คือ Sodium Chloride 0.9% w/v(4)

 

ควรล้างจมูกเมื่อใด ?

    ล้างเมื่อมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก น้ำมูกไหลลงคอ หรือจาม ล้างก่อนใช้ยาพ่นจมูก หรือล้างตามคำแนะนำของแพทย์ ปลอดภัยจึงล้างได้บ่อยเท่าที่ต้องการ(2)

 


อุปกรณ์ในการล้างจมูก
(2,4)

  1. น้ำเกลือปราศจากเชื้อ Sodium Chloride 0.9% w/v
  2. ไซรินจ์ (Syringe) ขนาด 5-50 มิลลิลิตร และจุกล้างจมูก “คลีน แอนด์ แคร์”
  3. อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ภาชนะรองน้ำ กระดาษทิชชู่ แก้วสะอาด

 

ขั้นตอนการล้างจมูก(2)

 

  1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับล้างจมูก
  2. ล้างมือ ไซรินจ์ (Syringe ขนาด 5-50 mL) และจุกล้างจมูก “คลีน แอนด์ แคร์” ให้สะอาด
  3. เทน้ำเกลือ เทน้ำเกลือ หรือดูดน้ำเกลือเข้าไซรินจ์และสวมจุกล้างจมูกที่ปลายไซรินจ์ เพื่อช่วยให้ล้างจมูกสะดวกขึ้น
  4. เริ่มล้างจมูกจากข้างใดข้างหนึ่งก่อน กลั้นหายใจ-ก้มหน้า-อ้าปาก โน้มตัวเหนืออ่างล้างหน้า ดันจุกล้างจมูก ให้แนบสนิทกับรูจมูกข้างหนึ่ง แล้ว “กลั้นหายใจ-ก้มหน้า-อ้าปาก” ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเข้ารูจมูก น้ำเกลือจะไหลเข้าไปในโพรงจมูก และไหลออกทางรูจมูกอีกด้านหนึ่ง
  5. สั่งน้ำมูกและซ้ำอีก สั่งน้ำมูกที่ค้างอยู่ออกเบาๆ อาจมีน้ำเกลือบางส่วนไหลออกมาทางปาก ก็ให้บ้วนทิ้งไป
  6. ล้างจมูกอีกข้างหนึ่ง ตามขั้นตอนที่ 2-4 เมื่อล้างเสร็จ จะสังเกตได้ว่าหายใจสะดวกขึ้น

 

ข้อควรระวังในการล้างจมูก

  1. ควรใช้น้ำเกลือ “ปราศจากเชื้อ”
    การล้างจมูก ควรใช้น้ำเกลือ Sodium Chloride 0.9% w/v ชนิดปราศจากเชื้อ เพื่อความปลอดภัยในการล้างจมูก ป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน และไม่ระคายเคืองโพรงจมูก(5)
  2. ห้ามใช้ “น้ำเปล่า” ล้างโพรงจมูก
    เนื่องจากน้ำเปล่า ไม่สมดุลกับน้ำในเซลล์ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการสำลักน้ำ และโพรงจมูกรู้สึกแสบ
  3. ไม่ควรฉีดน้ำเกลือแรง
    การฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรงๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้
  4. สั่งน้ำมูกเบาๆ
    หลังการล้างจมูก ควรสั่งน้ำมูกและเช็ดจมูกเบาๆ การสั่งน้ำมูกแรงๆ นอกจากจะไม่เป็นผลดีต่อโพรงจมูกแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูอักเสบได้ ขณะสั่งน้ำมูกไม่ควรอุดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ควรสั่งพร้อมๆกันทั้ง 2 ข้าง
  5. การใช้ยาพ่นจมูก
    หากต้องใช้ยาพ่นหลังล้างจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงพ่นยา
  6. ผู้ที่รูจมูกอุดตัน
    ผู้ที่มีรูจมูกด้านใดด้านหนึ่งอุดตันตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการล้างจมูก
  7. การล้างจมูกในเด็ก
    การล้างจมูกในเด็ก สามารถทำได้อย่างปลอดภัย(1) โดยควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำเกลือ สำหรับเด็กเล็ก (เด็กที่สั่งน้ำมูก หรือกลั้นหายใจไม่เป็น) จะไม่สามารถล้างโพรงจมูกได้ หากมีน้ำมูกให้ใช้วิธีหยดน้ำเกลือที่รูจมูก ข้างละ 2 หยด เพื่อช่วยให้น้ำมูกมีคลามข้นเหนียวลดลง แล้วใช้ลูกยางแดง ดูดทั้งน้ำมูกและน้ำเกลือออกทันที(6)

 

References

  1. Kohlstadt I, Ed. “Rhinosinusitis.” Food and nutrients in disease management. Florida: CRC Press, 2009. 32.
  2. Metson RB, Mardon S. “Nasal irrigation: a key to healthier sinuses.” The Harward Medical School guide to healing your sinuses. New York: McGraw-Hill Professional, 2005. 65-67.
  3. Baraniuk JN, Shusterman D, Eds. “Clinical approach to diagnosis and treatment of Nonallergic Rhinitis.” Nonallergic Rhinitis. New York: Informa Healthcare USA, Inc., 2007. 346.
  4. Graham JM, Scadding GK, Bull PD, Eds. “Allergic Rhinitis.” Pediatric ENT. London: Springer, 2007. 304.
  5. Nordqvist C. “Improper rinsing of sinuses with neti pots can be dangerous, FDA says.” Medical News Today. MediLexicon, Intl., 27 Aug.2012. http://www.medicalnewstoday.com/articles/249460.php
  6. Shelov SP, Hannemann RE, Eds. “Ears, nose and throat.” Caring for Your Baby & Young Child: From Birth to Age 5. New York: Oxford University Press, 1997. 536.

ข้อมูลสุขภาพอื่นๆที่น่าสนใจ